สถานการณ์การผลิตและการตลาดรายสัปดาห์ 26 ธันวาคม 2565-1 มกราคม 2566

 

ข้าว

1.สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
1.1 มาตรการสินค้าข้าว
1) โครงการสำคัญภายใต้แผนการผลิตและการตลาดข้าวครบวงจร ปีการผลิต 2565/66 ดังนี้
1.1) ด้านการผลิต
(1) การจัดการปัจจัยการผลิต ได้แก่ โครงการผลิตและกระจายเมล็ดพันธุ์ข้าว และมาตรการควบคุม
ค่าเช่าที่นา
(2) การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าว ได้แก่ โครงการระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ (นาแปลงใหญ่) โครงการส่งเสริมการผลิตข้าวอินทรีย์ โครงการพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืน (ส่งเสริมและพัฒนาการผลิตข้าวอินทรีย์) และการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับการผลิตข้าวยั่งยืน
(3) การควบคุมปริมาณการผลิตข้าว ได้แก่ โครงการบริหารจัดการพื้นที่เกษตรตามแผนที่การเกษตรเชิงรุก (Zoning by Agri-Map) โครงการส่งเสริมการปลูกพืชใช้น้ำน้อยเสริมสร้างรายได้แก่เกษตรกร โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ปี 2566 โครงการส่งเสริมการเลี้ยงสัตว์และกิจกรรมที่เกี่ยวเนื่อง โครงการส่งเสริมการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ผ่านระบบสหกรณ์ แผนการถ่ายทอดความรู้การผลิตพืชหลังนาและการใช้น้ำในการผลิตพืชอย่างมีประสิทธิภาพ และแผนการผลิตพันธุ์พืชและปัจจัยการผลิต
(4) การพัฒนาชาวนา ได้แก่ โครงการพัฒนาเกษตรกรปราดเปรื่อง (Smart Farmer)
(5) การวิจัยและพัฒนา ได้แก่ การปรับปรุงพันธุ์ข้าวเจ้าพื้นนุ่มและพื้นแข็ง การปรับปรุงพันธุ์ข้าวหอมไทย การปรับปรุงพันธุ์ข้าวโภชนาการสูง และการปรับปรุงพันธุ์ข้าวเหนียว
(6) การประกันภัยพืชผล ได้แก่ โครงการประกันภัยข้าวนาปี
(7) การส่งเสริมการสร้างยุ้งฉางให้เกษตรกรและสถาบันเกษตรกรทั่วประเทศ (รัฐชดเชยดอกเบี้ยร้อยละ 3)
1.2) ด้านการตลาด
(1) การพัฒนาตลาดสินค้าข้าว ได้แก่ โครงการส่งเสริมการพัฒนาระบบตลาดภายในสำหรับสินค้าเกษตร และโครงการรณรงค์บริโภคข้าวและผลิตภัณฑ์ข้าวของไทยทั้งตลาดในประเทศและต่างประเทศ
(2) การชะลอผลผลิตออกสู่ตลาด ได้แก่ โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปี โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกร และโครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการค้าข้าวในการเก็บสต็อก
(3) การจัดหาและเชื่อมโยงตลาดต่างประเทศ ได้แก่ โครงการกระชับความสัมพันธ์และรณรงค์สร้างการรับรู้ในศักยภาพข้าวไทยเพื่อขยายตลาดข้าวไทยในต่างประเทศ และโครงการปกป้องและแก้ปัญหาอุปสรรคทางการค้า
(4) การส่งเสริมภาพลักษณ์และประชาสัมพันธ์ข้าว ผลิตภัณฑ์ข้าว และนวัตกรรมข้าว ได้แก่ โครงการส่งเสริมและประชาสัมพันธ์ภาพลักษณ์ข้าวไทย โครงการส่งเสริมตลาดและประชาสัมพันธ์ข้าวอินทรีย์ไทย และโครงการเสริมสร้างศักยภาพสินค้าเกษตรนวัตกรรมไทยเพื่อการต่อยอดเชิงพาณิชย์
2) มาตรการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2565/66
มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2565 เห็นชอบในหลักการโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว พร้อมมาตรการคู่ขนาน และโครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2564/65 ดังนี้
2.1) โครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2565/66 รอบที่ 1 โดยกำหนดชนิดข้าว ราคา และปริมาณประกันรายได้ (ณ ราคาความชื้นไม่เกิน 15%) ดังนี้ (1) ข้าวเปลือกหอมมะลิ ราคาประกันตันละ 15,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 14 ตัน (2) ข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ ราคาประกันตันละ 14,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 16 ตัน (3) ข้าวเปลือกเจ้า ราคาประกันตันละ 10,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 30 ตัน (4) ข้าวเปลือกหอมปทุมธานี ราคาประกันตันละ 11,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 25 ตัน และ (5) ข้าวเปลือกเหนียว ราคาประกันตันละ 12,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 16 ตัน
2.2) มาตรการคู่ขนานโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2565/66 ประกอบด้วย
3 โครงการ ได้แก่
(1) โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2565/66 โดย ธ.ก.ส. สนับสนุนสินเชื่อให้เกษตรกรและสถาบันเกษตรกรในเขตพื้นที่ปลูกข้าวทั่วประเทศ เพื่อชะลอข้าวเปลือกไว้ในยุ้งฉางของเกษตรกรและสถาบันเกษตรกร เป้าหมายจำนวน 2.5 ล้านตันข้าวเปลือก วงเงินสินเชื่อต่อตัน จำแนกเป็น ข้าวเปลือกหอมมะลิ ตันละ 11,000 บาท ข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ ตันละ 9,500 บาท ข้าวเปลือกเจ้า ตันละ 5,400 บาท ข้าวเปลือกหอมปทุมธานี ตันละ 7,300 บาท และข้าวเปลือกเหนียวเมล็ดยาว ตันละ 8,600 บาท รวมทั้งเกษตรกรที่เก็บข้าวเปลือกในยุ้งฉางตนเอง จะได้รับค่าฝากเก็บและรักษาคุณภาพข้าวเปลือกในอัตราตันละ 1,500 บาท สำหรับสถาบันเกษตรกรที่รับซื้อข้าวเปลือกจากเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการฯ ได้รับในอัตราตันละ 1,000 บาท และเกษตรกรผู้ขายข้าวเปลือก ได้รับในอัตราตันละ 500 บาท
(2) โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกร ปีการผลิต 2565/66โดย ธ.ก.ส. สนับสนุนสินเชื่อแก่สถาบันเกษตรกร ประกอบด้วย สหกรณ์การเกษตร กลุ่มเกษตรกร วิสาหกิจชุมชน และศูนย์ข้าวชุมชน เพื่อรวบรวมข้าวเปลือกจำหน่าย และ/หรือเพื่อการแปรรูป วงเงินสินเชื่อเป้าหมาย 10,000 ล้านบาท
คิดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ร้อยละ 4 ต่อปี โดยสถาบันเกษตรกรรับภาระดอกเบี้ย ร้อยละ 1 ต่อปี รัฐบาลรับภาระชดเชยดอกเบี้ยให้สถาบันเกษตรกรร้อยละ 3 ต่อปี
(3) โครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการค้าข้าวในการเก็บสต็อก ปีการผลิต 2565/66 ผู้ประกอบการค้าข้าวรับซื้อข้าวเปลือกเพื่อเก็บสต็อก เป้าหมาย 4 ล้านตันข้าวเปลือก โดยสามารถรับซื้อจากเกษตรกร
ได้ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2565 - 31 มีนาคม 2566 (ภาคใต้ 1 มกราคม - 30 มิถุนายน 2566) และเก็บสต็อกในรูปข้าวเปลือกและข้าวสาร ระยะเวลาการเก็บสต็อกอย่างน้อย 60 - 180 วัน (2 - 6 เดือน) นับแต่วันที่รับซื้อ โดยรัฐชดเชยดอกเบี้ย
ในอัตราร้อยละ 3
2.3) โครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2565/66
ธ.ก.ส. ดำเนินการจ่ายเงินให้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวที่ขึ้นทะเบียนกับกรมส่งเสริมการเกษตร เพื่อบรรเทาความเดือดร้อน ลดต้นทุนการผลิต ให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มมากขึ้น ในอัตราไร่ละ 1,000 บาท ไม่เกินครัวเรือนละ 20 ไร่ หรือครัวเรือนละไม่เกิน 20,000 บาท
1.2 ราคา
1) ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
ข้าวเปลือกเจ้านาปีหอมมะลิ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 12,892 บาท ราคาลดลงจากตันละ 12,947 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.42
ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 9,169 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 9,099 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.77
2) ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ข้าวหอมมะลิ 100% ชั้น 1 (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 29,550 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ข้าวขาว 5% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 14,950 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
3) ราคาส่งออกเอฟโอบี
ข้าวหอมมะลิไทย 100% (ใหม่) สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ข้าวขาว 5% สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ข้าวนึ่ง 5% สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยนสัปดาห์นี้ 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 34.3892 บาท
2. สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ
ยูกันดา: ยกเลิกภาษีนำเข้าข้าวจากแทนซาเนีย อุปสรรคใหม่ของไทยในการส่งออกข้าวมาแอฟริกาตะวันออก
รัฐบาลยูกันดายกเลิกภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) สำหรับข้าวที่นำเข้าจากประเทศแทนซาเนีย หลังจากที่ประธานาธิบดี ของประเทศยูกันดา นาย โยเวรี มูเซเวนี ยื่นอุทธรณ์ต่อประเทศสมาชิกประชาคมแอฟริกาตะวันออก (AEC) ทั้ง 7 ประเทศ ให้ขจัดอุปสรรคที่ไม่ใช่ภาษีทั้งหมด (non-tariff barriers) พร้อมทั้งแสดงความเห็นว่า อุปสรรคเหล่านี้ขัดขวางการรวมตัวและการพัฒนาทางเศรษฐกิจในภูมิภาค โดยใจความสำคัญในหนังสือที่ส่งถึงเจ้าหน้าที่ศุลกากร ของหน่วยงานสรรพากรยูกันดากล่าวว่า ข้าวทั้งหมดที่มีต้นกำเนิดจากสาธารณรัฐแทนซาเนียและมีใบรับรอง
แหล่งกำเนิดตามการปฏิบัติพิเศษจะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 27 กรกฎาคม 2565 โดยเรียกเก็บภาษีนำเข้าร้อยละ 0 ตามกฎหมายภาษีมูลค่าเพิ่ม กล่าวคือ ให้ยกเลิกภาษีมูลค่าเพิ่ม 180,000 ยูกันดาชิลลิ่ง (47 ดอลลาร์สหรัฐฯ) ต่อข้าว หนึ่งตัน อีกทั้งคณะกรรมการด้านการท่องเที่ยว การค้าและอุตสาหกรรม (The Parliamentary Committee on Tourism, Trade and Industry) ยังเสนอให้มูลนิธิเพื่อการพัฒนาข้าวและธุรกิจการเกษตรหยุดเก็บเงินจากผู้ค้าข้าวตามจุดการค้าชายแดนต่างๆ นอกจากการร้องขอให้หยุดเก็บเงินจากผู้ค้าแล้ว ยังเรียกร้องให้ส่งคืนเงินจำนวน 17 พันล้านยูกันดาชิลลิ่งที่ได้เรียกเก็บไปก่อนหน้านี้อีกด้วย
ตามสถิติของกระทรวงพาณิชย์และการค้าของยูกันดา พบว่า ชาวยูกันดาบริโภคข้าวประมาณ 300,000 ตันต่อปี และข้าวส่วนใหญ่มาจากการนำเข้าจากปากีสถานและแทนซาเนีย ซึ่งยูกันดาจึงเน้นย้ำถึงความจำเป็นที่ประเทศสมาชิกประชาคมแอฟริกาตะวันออกทั้งหมดต้องไฟเขียวให้เกิดการค้าเสรีในภูมิภาคนี้อย่างจริงจัง
ความเห็นของ สคต.
การยกเลิกภาษีมูลค่าเพิ่มของยูกานดาในการนำเข้าข้าวจากแทนซาเนีย ถือเป็นมาตรการล่าสุดที่ยูกานดา
นำร่องในการลดภาษีของการค้าระหว่างกลุ่มประเทศในแอฟริกาตะวันออกที่มีการรวมกลุ่มกันภายใต้เขตการค้าเสรีแอฟริกาตะวันออก (East African Community : EAC) ซึ่งถือว่าเป็นตัวอย่างหนึ่งในการพัฒนาเขตการค้าเสรีดังกล่าวให้มีความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติมากขึ้นกว่าในปัจจุบัน ที่ยังคงมีการเก็บภาษีหรือค่าธรรมเนียมที่เป็นอุปสรรคต่อ
การขยายการค้าในกลุ่มการค้าดังกล่าว สำหรับประเทศไทย นั้น แม้ประเทศยูกานดาไม่ใช่ตลาดส่งออกข้าวของไทย
ที่สำคัญในแอฟริกา แต่การออกมาตรการดังกล่าว มีผลกระทบโดยตรงต่อการนำเข้าข้าวของไทยมายังตลาดดังกล่าว ประการแรก การยกเลิกภาษีข้างต้นส่งสัญญาณว่า ข้าวในแอฟริกาตะวันออกจะมีราคาถูกลงต่อผู้บริโภคและ
มีความสามารถในการแข่งขันต่อข้าวนำเข้าจากปากีสถาน อินเดีย หรือแม้กระทั่งข้าวของไทยมากขึ้น นอกจากนั้น
หากแทนซาเนียซึ่งถือเป็นผู้ส่งออกข้าวรายใหญ่ในแอฟริกาตะวันออกสามารถมีผลผลิตในการส่งออกได้มากขึ้นแล้ว
ก็จะยิ่งกระทบและแย่งส่วนแบ่งการตลาดของการส่งออกข้าวไทยให้ลดลงได้ในอนาคต ซึ่งผู้ส่งออกไทยควรเร่งขยายตลาดไปที่ประเทศอื่น เพื่อทดแทนการส่งออกข้าวมายังตลาดแอฟริกาตะวันออกให้มากขึ้น เช่น ขยายการส่งออกไปแอฟริกาตะวันตก เป็นต้น นอกจากนั้น อาจรวมถึงการหาพันธุ์ข้าวใหม่ที่มีต้นทุนลดลงกว่าข้าวพันธุ์เดิมที่เริ่มมีปัญหา
ในการทำตลาดส่งออกกว่าคู่แข่งตามที่ประสบปัญหาดังกล่าวรุนแรงมากขึ้นในช่วงหลายปีที่ผ่านมาที่การส่งออกข้าว
ของไทยในตลาดแอฟริกาตะวันออกมีมูลค่าลดลงตามลำดับ โดยตลาดส่งออกสำคัญในแอฟริกาตะวันออกปัจจุบัน ได้แก่ เคนยา และ สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก
ที่มา กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ

 


ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์

1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
ราคาข้าวโพดในประเทศช่วงสัปดาห์นี้ มีดังนี้

ราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นไม่เกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 11.06 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 11.09 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.27 และราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นเกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 8.52 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 8.56 บาท ของสัปดาห์ก่อน
ร้อยละ 0.47
ราคาข้าวโพดขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ ที่โรงงานอาหารสัตว์รับซื้อ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 13.25 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 13.17 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.61 ส่วนราคาขายส่งไซโลรับซื้อสัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 391.00 ดอลลาร์สหรัฐ (13,429.00 บาท/ตัน)  สูงขึ้นจากตันละ 386.00 ดอลลาร์สหรัฐ (13,324.00 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.30 และสูงขึ้นในรูปของเงินบาทตันละ 105.00 บาท
ราคาซื้อขายล่วงหน้าในตลาดชิคาโกเดือนมีนาคม 2565 ข้าวโพดเมล็ดเหลืองอเมริกัน ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 679.00 เซนต์ (9,305.00 บาท/ตัน) สูงขึ้นจากบุชเชลละ 658.00 เซนต์ (9,051.00 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.19 และสูงขึ้นในรูปของเงินบาทตันละ 254.00 บาท


 


มันสำปะหลัง

สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
การผลิต
ผลผลิตมันสำปะหลังปี 2566 (เริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนตุลาคม 2565 – กันยายน 2566) คาดว่ามีพื้นที่เก็บเกี่ยว 10.113 ล้านไร่ ผลผลิต 34.749 ล้านตัน และผลผลิตต่อไร่ 3.436 ตัน เมื่อเทียบกับปี 2565 ที่มีพื้นที่เก็บเกี่ยว 9.922 ล้านไร่ ผลผลิต 34.007 ล้านตัน
และผลผลิตต่อไร่ 3.427 ตัน พบว่า พื้นที่เก็บเกี่ยว ผลผลิต และผลผลิตต่อไร่ เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.93 ร้อยละ 2.18 และร้อยละ 0.26 ตามลำดับ โดยเดือนธันวาคม 2565 คาดว่าจะมีผลผลิตออกสู่ตลาด 3.29 ล้านตัน (ร้อยละ 9.48 ของผลผลิตทั้งหมด)
ทั้งนี้ผลผลิตมันสำปะหลังปี 2566 จะออกสู่ตลาดมากในช่วงเดือนมกราคม – มีนาคม 2566 ปริมาณ 20.53 ล้านตัน (ร้อยละ 59.07 ของผลผลิตทั้งหมด)
การตลาด
เป็นช่วงต้นฤดูการเก็บเกี่ยว หัวมันสำปะหลังออกสู่ตลาดเพิ่มขึ้น สำหรับลานมันเส้นและโรงงานแป้งมันสำปะหลังส่วนใหญ่เปิดดำเนินการ
ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศประจำสัปดาห์ สรุปได้ดังนี้
ราคาหัวมันสำปะหลังสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 2.62 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 2.61 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 0.38
ราคามันเส้นสัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 6.77 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 6.74 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 0.45
ราคาขายส่งในประเทศ
ราคาขายส่งมันเส้น (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต จ.ชลบุรี และ จ.อยุธยา) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ8.12 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 8.08 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 0.50
ราคาขายส่งแป้งมันสำปะหลังชั้นพิเศษ (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต กรุงเทพและปริมณฑล) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 16.55 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 16.64 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 0.54
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ราคาส่งออกมันเส้น สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 255 ดอลลาร์สหรัฐฯ (8,85 บาทต่อตัน) ราคาสูงขึ้นจากเฉลี่ยตันละ 251 ดอลลาร์สหรัฐฯ (8,730 บาทต่อตัน) ในสัปดาห์ คิดเป็นร้อยละ 1.59
ราคาส่งออกแป้งมันสำปะหลัง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 485 ดอลลาร์สหรัฐฯ (16,840 บาทต่อตัน)  ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน (16,900 บาทต่อตัน)


 


ปาล์มน้ำมัน
 


อ้อยและน้ำตาล
  1. สรุปภาวะการผลิต  การตลาดและราคาในประเทศ
             ไม่มีรายงาน
  1. สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในต่างประเทศ
             ไม่มีรายงาน



 

 
ถั่วเหลือง

1. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วเหลืองชนิดคละสัปดาห์นี้กิโลกรัมละ 21.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งถั่วเหลืองสกัดน้ำมันสัปดาห์นี้กิโลกรัมละ 26.38 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
ราคาในตลาดต่างประเท (ตลาดชิคาโก)
ราคาซื้อขายล่วงหน้าเมล็ดถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 1,499.07 เซนต์ (18.95 บาท/กก.) สูงขึ้นจากบุชเชลละ 1,473.32 เซนต์ (18.69 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.75
ราคาซื้อขายล่วงหน้ากากถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 460.73 ดอลลาร์สหรัฐฯ (15.85 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 452.96 ดอลลาร์สหรัฐฯ (15.64 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.72
ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันถั่วเหลืองสัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 66.62 เซนต์ (50.52 บาท/กก.) สูงขึ้นจากปอนด์ละ 65.70 เซนต์ (50.00 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.40


 

 
ยางพารา
 
 

 
ถั่วเขียว

 

 
ถั่วลิสง

 

 
ฝ้าย

 

 
ไหม

ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,830 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 1,867 บาท คิดเป็นร้อยละ 1.98 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,341 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 1,394 บาทคิดเป็นร้อยละ 3.80 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 3 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,009 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา


 

 
ปศุสัตว์
 
สุกร
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
  
ภาวะตลาดสุกรสัปดาห์นี้ ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ลดลงเล็กน้อย เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากผลผลิตเนื้อสุกรที่ออกสู่ตลาดสอดรับกับความต้องการของผู้บริโภค แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย 
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ  100.89 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 101.56 คิดเป็นร้อยละ 0.66 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 98.97 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 98.05 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 103.20 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 96.42 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้  ตัวละ 3,500 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา 
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิต ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 96.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา 

ไก่เนื้อ
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ 
สัปดาห์นี้ราคาไก่เนื้อมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ลดลงเล็กน้อยจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากความต้องการของผู้บริโภคสอดรับกับผลผลิตที่ออกสู่ตลาด แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย 
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 45.05 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 45.14 บาทคิดเป็นร้อยละ 0.20 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 42.00 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 45.50 บาท ภาคใต้ กิโลกรัมละ 44.16 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 19.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา 
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตหน้าโรงฆ่า จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 41.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา และราคาขายส่งไก่สดทั้งตัวรวมเครื่องใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 57.50 ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา

ไข่ไก่
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
   
สถานการณ์ตลาดไข่ไก่สัปดาห์นี้ ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ลดลงเล็กน้อยจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากผลผลิตไข่ไก่ที่ออกสู่ตลาดสอดรับกับความต้องการของผู้บริโภค แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 343 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 344 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.29 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 333 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 330 บาท  ภาคกลางร้อยฟองละ 351 บาท และภาคใต้ไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 28.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา  
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่ไก่ (เฉลี่ยเบอร์ 0-4) ในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 3.72 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา 

ไข่เป็ด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ

ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 394 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 393 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.25 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 418 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 398 บาท  ภาคกลางร้อยฟองละ 366 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 439 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่เป็ดคละ ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 4.55 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา 

โคเนื้อ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
   
ราคาโคพันธุ์ลูกผสม (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 99.03 บาท  สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 98.87 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.17 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 99.57 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 100.71 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 89.16 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 108.64 บาท

กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ

ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 83.93 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 83.44 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.60 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 95.66 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 81.67 บาท  ภาคกลางและภาคใต้ไม่มีรายงาน 
 
 

 
 

 
ประมง
 
 

 
ตารางประมง ราคาเกษตรกรขายได้ ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ และราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี